วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551

คำถามท้ายบทที่ 1

1.computer มีกี่ประเภท อะไรบ้าง


คอมพิวเตอร์แบ่งได้ 4 ประเภทแบ่ง โดยแบ่งตามความเร็วของการประมวลผล และขนาดความจำของหน่วยบันทึกข้อมูล ได้แก่
1. ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputers )
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computers)
3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputers)
4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputers)

1. ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกปี ค.ศ 1960 ในประเทศสหรัฐอเมริกา บางครั้งเรียกว่าคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer) มีหน่วยวัดความเร็วเป็นนาโนวินาที (nanosecond) คือเศษหนึ่งส่วนพันล้านวินาทีหรือการคำนวณหนึ่งพันล้านครั้งใน 1 วินาที สามารถทำงานได้หลายอย่างพร้อมกัน เหมาะสำหรับการรับและการแสดงผลจำนวนมาก ใช้ในงานวิเคราะห์ คำนวณด้านวิทยาศาสตร์ เช่น งานวิเคราะห์พยากรณ์อากาศวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศ














2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่ำกว่าซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้หน่วยวัดความเร็วเรียกว่าเมกะฟลอป(Megaflop)หรือการคำนวณหนึ่งล้านครั้งใน1วินาที เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายอย่างพร้อมกันและรองรับผู้ใช้ได้หลายร้อยคน เหมาะสำหรับการรับและการแสดงผลจำนวนมากโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆเช่นงานธนาคาร งานหน่วยงานของรัฐในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนเป็นต้น ปัจจุบันเมนแฟรมคอมพิวเตอร์ไม่เป็นที่นิยมนำมาใช้งานมากนักเพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกว่าได้รับการพัฒนาความสามารถในการทำงานได้ในระดับเดียวกัน และมีราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตามเครื่องเมนเฟรมยังคงมีความจำเป็นในงานที่ต้องใช้ข้อมูลมากพร้อมๆกัน เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมสามารถพ่วงต่อ และควบคุมอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) จำนวนมากและมีความรวดเร็วในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์












3. มินิคอมพิวเตอร์(Minicomputer)เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานได้ช้ากว่าและควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ แต่ราคาถูกกว่าเมนเฟรม และไม่ต้องการผู้ที่ทำงานควบคุมเป้นจำนวนมากการใช้งาน มินิคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานทั้งในระดับธุรกิจ วิศวกรรม และอุตสาหกรรม









4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ใช้งานที่พบได้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สามารถนำมาใช้งานคนเดียว หรือทำงานร่วมในระบบเครือข่าย แบ่งได้หลายลักษณะตามขนาด เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ (Personal Computer) หรือแบบพกพา (Portable Computer) หรือแบ่งตามผู้ผลิต ได้แก่ เครื่องกลุ่ม IBM, IBM Compatible และแมคอินทอช (Macintosh) เป็นต้น
ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นตัวที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในโลกคอมพิวเตอร์ คือ ทำให้เกิดความสนใจ ในเรื่องคอมพิวเตอร์แพร่หลายไปสู่คนทุกอาชีพและทุกวัยปัจจุบันยังมีการสร้างไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลงเพื่อพกพาติดตัวได้สะดวก เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุค (Notebook computor) คอมพิวเตอร์ปาล์มทอป (Palmtop Computor) คอมพิวเตอร์พีดีเอ (Personal Digital Assistant
















2.Computer แบบฝัง คืออะไร ใช้ประโยชน์ไรได้บ้าง
คอมพิวเตอร์แบบฝัง(Embeded computers)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกฝังไปในอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้มองไม่เห็นจากรูปลักษณ์ภายนอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์เช่น นิยมใช้การทำงานเฉพาะด้าน โดยทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมหน้าที่การทำงานบางอย่าง เช่นเตาอบไฟฟ้า นาฬิกาข้อมือ อุปกรณ์เล่นเกม














3.ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร

ข้อมูล (data) หรือ ข้อมูลดิบ หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้. ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ คะแนนของนักเรียน รายงาน บันทึก ฯลฯ
ระบบ การจัดการความรู้ ทั้งหมดได้แก่
ข้อมูล --> สารสนเทศ --> ความรู้ --> ความชำนาญ
ข้อมูลเหล่าที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว เราจะเรียกว่า สารสนเทศ (information)
ข้อมูล -> (กระบวนการประมวลผล) -> สารสนเทศ
ข้อแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูลแตกต่างจากสารสนเทศคือ ข้อมูลเป็น ส่วนของข้อเท็จจริง โดยได้จากการเก็บมาจากเหตุการณ์ต่างๆ สารสนเทศคือข้อมูลที่นำมาผ่านกระบวนการเพื่อสามารถนำไปใช้ ในการตัดสินใจต่อไปได้ทันทีหรือการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อการนำไปใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวอย่างข้อแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล: นิสิตในมหาวิทยาลัยนเรศวรมีจำนวน 36,000 คน อาจารย์มีจำนวน 350 คน
สารสนเทศ: อัตรานิสิตต่ออาจารย์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร = 36,000/350 = 102.86
จากตัวอย่าง ถ้ามีคำถาม
ถามขึ้นมาว่าให้หาจำนวน ของนักเรียนที่ปรึกษา ต่ออาจารย์หนึ่งคน ในมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยสามารถนำค่า 102.86 ไปใช้ได้ทันที โดยตอบว่า ประมาณ 100 คน
ถามว่า เปรียบเทียบมหาวิทยาลัยสองที่ ว่าที่ไหนอาจารย์สามารถดูแลนักเรียนได้ทั่วถึงมากกว่ากัน โดยเราหาค่า อัตราส่วนของนักเรียนต่ออาจารย์ ของสองมหาวิทยาลัยมาเปรียบเทียบ จะทราบว่ามหาวิทยาลัยที่มีค่าน้อยกว่า บอกเป็นนัยมหาวิทยาลัยนั้น อาจารย์ดูแลนักเรียนได้ทั่วถึงกว่า


4.VLSi คืออะไรมีความสำคัญต่อ Computer อย่างไร

วงจรรวมขนาดใหญ่ (Very Large Scale Intrgrated : VLSI) เป็นลักษณะของการต่อร่วมเข้ากันด้วยไอซี (Integrate Circuit : IC) หลายๆ ตัว เริ่มตัวแต่มนุษย์พัฒนาธาตุซิลิกอนขึ้นมาเพื่อใช้งาน ตั้งแต่หลายร้อยปีก่อน ธาตุซิลิกอนมีคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมัน จะเกิดเป็นพลังงานต่างๆ แล้วแต่ลักษณะการออกแบบ กว่าจะมาเป็น VLSI เริ่มขึ้นจากการพัฒนาธาตุซิลิกอน จนเป็น ทรานซิสเตอร์ ซึ่งจัดเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำพวก ACTIVE DEVICEการทำงานของทรานซิสเตอร์ คือ จะแปลงพลังงานไฟฟ้าที่ผ่านตัวมันเป็นพลังงานอีกอย่างหนึ่ง หรือเปลี่ยนรูปแบบของพลังงาน จากทรานซิสเตอร์เมื่อนำมาประกอบกันเป็น วงจรใหญ่ขึ้นก็จะกลายเป็น IC ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในสาร ซิลิกอนอีกชั้นหนึ่ง จาก IC เมื่อนำมา ประกอบกันหลาย ๆอันก็จะกลายเป็นชิป (chip) หรือเรียกว่า เทคโนโลยี VLSI นั่นเอง
5.นิสิตใช้ Computer ในชีวิตประจำวันอะไรบ้าง
ใช้ในการหาข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และพิมพ์เอกสาร
ใช้เพื่อบันเทิง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ ฯลฯ
วันที่สืบค้น 26/06/51

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ข่าวสารคอมพิวเตอร์






'Windows Light' ซอฟต์แวร์ช่วยลดโลกร้อน

ย่างเข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว สำหรับโครงการ “Imagine Cup 2008” ซึ่งจัดโดยบริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเปิดโอกาสให้ตัวแทนนิสิต นักศึกษาได้แสดงความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งทีมที่ชนะเลิศ จะเป็นตัวแทนประเทศไทยนำผลงานเข้าร่วมการแข่งขันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในเดือน ก.ค.นี้ สำหรับหัวข้อการแข่งขันพัฒนาซอฟต์ แวร์ระดับโลก หรือ Imagine Cup 2008 ปีนี้ คือ “Imagine a world where technology enables a sustainable environment” หรือ การนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างสรรค์โลกให้ดีขึ้น และช่วยบรรเทาสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ในปีนี้มีนักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวด 95 แอพพลิเคชั่น และเฟ้นหาผลงานเพียงหนึ่งเดียวเป็นตัวแทนประเทศไทยไปฝรั่งเศส ผลปรากฏว่า ทีม SKE เจ้าของแอพ พลิเคชั่น “Windows Light” ที่ช่วยคำนวณการใช้ไฟในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสม คว้าตำแหน่งชนะเลิศไปครอง ซึ่งประกอบด้วย นายอุดมศักดิ์ ดอนขำไพร, นายศรุต อุดมการ, นายทันฑวัต เขมาวาศน์, นายกฤตธี ศิริสิทธิ์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คว้ารางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมด้วยโล่รางวัล นายอุดมศักดิ์ หัวหน้าทีม กล่าวว่า หัวข้อการทำซอฟต์แวร์ในปีนี้คือ การรณรงค์การลดภาวะโลกร้อน ซึ่งหนึ่งในปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนก็คือ การเพิ่มการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เพราะเมื่อเราปิดไฟ 1 พันล้านหลอด เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เราก็จะสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 16 ล้านกิโลกรัม ทีมจึงได้ตกลงทำโปรแกรมเพื่อช่วยป้องกันและดูแลโลกใบนี้ เรียกว่า “Windows Light” โดยหน้าที่หลัก คือ การช่วยตรวจสอบมลพิษที่เกิดขึ้นจากการใช้หลอดไฟ และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ภายในบริเวณบ้านเพื่อที่จะกระตุ้นให้รับรู้ถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดการใช้ไฟโดยการปรับความสว่างของหลอดไฟให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมโดยอัตโนมัติ หรือปิดไฟเมื่อไม่มีใครอยู่ในห้อง ขณะที่ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Humanoidea จากมหาวิทยาลัยมหิดล กับแอพพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า Re-wind เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้กับคอนเซปต์ Reduce (ลดปริมาณขยะ) Reuse (ใช้ซ้ำ) Recycle (นำกลับมาใช้ใหม่) และการคัดแยกขยะ เพื่อกระตุ้นให้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะ คว้าเงินรางวัล 50,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม SIT Imagine จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกับแอพพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า Conergy ซึ่งเกิดขึ้นด้วยความสงสัยที่ว่า ถ้าคนทั่วโลกเปลี่ยนพฤติกรรมของพวกเขาโดยการปิดคอมพิวเตอร์ทุกครั้งหลังจากใช้งานแล้ว หรือปิดหน้าจอเมื่อไม่ได้ใช้ ซึ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Conergy จะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ประการ คือ Energy Saving และ Collaboration of People โดย Energy Saving เป็นการช่วยให้คอมพิวเตอร์ใช้พลังงานน้อยลง ส่วน Collaboration of People เว็บเซอร์วิสที่จัดการเกี่ยวกับการร่วมมือกันของทุกคนโดยผ่านทางการให้ใช้ซอฟต์แวร์ Conergy ซึ่งจะแสดงถึงปริมาณของพลังงานที่ได้จากการร่วมมือของผู้ใช้คอมพิวเตอร์และแสดงถึงข้อเท็จจริงของปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้น คว้าเงินรางวัล 40,000 บาทไปครอง เดือน ก.ค. นี้ต้องรอลุ้นกันว่าแอพพลิเคชั่นช่วยโลกร้อนของเด็กไทยจะไปคว้าชัยระดับโลกได้หรือไม่.
ข้อมูลจาก http://www.dailynews.co.th/

ซอฟต์แวร์ฝีมือไทยไปขายต่างประเทศ


หลังจากบ่มเพาะประสบการณ์และฝีมือจนมั่นใจแล้ว วันนี้ถึงเวลาที่กลุ่มผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ในเมืองไทยจะนำผลงานที่กลั่นจากมันสมองไปขายเอาเงินต่างชาติบ้าง นายเฉลิมพล ปุณโณทก นายกสมาคมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (TSEP) กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่ผู้ประกอบการไอทีออกมาทำกิจกรรมแบบนี้กันนอกบ้าน ถือเป็นกลุ่มบุกเบิกเอาทรัพย์สินทางปัญญามาขาย ไม่ได้เป็นผู้รับจ้างทำซอฟต์แวร์เหมือนสมัยก่อนแล้ว ฮานอย และโฮจิมินท์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม จึงเป็นประเทศแรกที่กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจไอทีจากไทย ที่เรียกตัวเองว่า หน่วยกล้าตาย จำนวน 14 บริษัท ในนามของ TSEP นำซอฟต์แวร์มาเสนอขายให้ลูกค้าโดยตรง ซอฟต์แวร์ทั้ง 14 บริษัทที่เดินทางมาร่วมเป็นกลุ่มผู้บุกเบิกกับ TSEP ส่วนใหญ่เป็นซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ สาธารณสุขและสุขภาพ การจัดการธุรกิจโรงแรม โซลูชั่นมัลติมีเดีย การประกันภัย อาร์เอฟไอดี การบริหารจัดการอาคาร เว็บแอพลิเคชั่น การเงิน และเน็ตเวิร์ค เป็นต้น นายกิตตินันท์ อนุพันธ์ ผู้อำนวยการบริษัทอรุณสวัสดิ์ดอตคอม จำกัด ซึ่งนำโซลูชั่นพีดีเอและโมบายซอฟต์แวร์เกี่ยวกับธุรกิจประกันภัยมาเสนอขายให้ลูกค้าชาวเวียดนาม เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบัน พีดีเอหรือคอมพิวเตอร์แบบพกพากำลังได้รับความนิยมจากชาวเวียดนาม จึงนำโซลูชั่นสำหรับพีดีเอมาพัฒนาให้นำไปใช้บนถนนได้ เพราะประเทศนี้มีรถมอเตอร์ไซค์เป็นจำนวนมาก อุบัติเหตุที่เกิดจากมอเตอร์ไซค์ก็ย่อมจะมีมาก โซลูชั่นนี้มีลูกค้าเป็นกลุ่มธุรกิจประกันภัยหลายรายในประเทศไทย จะช่วยลดขั้นตอนการเรียกประกัน เคลมประกัน และแจ้งซ่อมได้มาก โซลูชั่นของอรุณสวัสดิ์ดอตคอม มีจุดเด่นอยู่ที่ เมื่อคอลเซ็นเตอร์ได้รับแจ้งเกิดอุบัติเหตุจากลูกค้าแล้ว ก็จะค้นหาหมายเลขกรมธรรม์ จากนั้นแจ้งรายละเอียดให้กับพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุ ผ่านพีดีเอที่รองรับจีพีเอสของพนักงาน ซึ่งจะบอกจุดที่เกิดอุบัติเหตุ แล้วส่งข้อมูลกรมธรรม์ให้ทั้งสองฝ่ายภายใน 1 นาที ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้พนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุไปถึงจุดเกิดเหตุได้เร็วขึ้น และลูกค้าก็ไม่ต้องบอกเล่าเหตุการณ์หลายครั้ง ระหว่างที่พนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุเดินทางมายังจุดเกิดเหตุ พนักงานคอลเซ็นเตอร์ก็จะคุยกับลูกค้าเพื่อขอข้อมูลเอาไว้มากที่สุด เมื่อพนักงานมาถึงก็จะใช้พีดีเอถ่ายรูปแล้วส่งเข้าศูนย์ผ่าน MMS จากนั้นก็พิมพ์ข้อมูลอู่ซ่อมและประเมินราคา และออกไปแจ้งซ่อมให้ทันที เป็นการเคลมประกันผ่านระบบดิจิทัลทั้งหมด วิธีการดังกล่าวช่วยให้พนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุรับงานได้มากขึ้น จากเดิม พนักงาน 1 คนจะรับได้ 3 เคลม หรือปัจจุบันทำได้มากถึง 5 เคลมภายในหนึ่งวัน ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น นายพงศวัฒน์ กฤษณามระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลองกอง สตูดิโอ จำกัด กล่าวว่า ซอฟต์แวร์ที่นำมานั้นเกี่ยวกับการบริหารต้นทุน บัญชีของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จากที่ได้คุยกับลูกค้าชาวเวียดนาม ทำให้มองเห็นความต้องการและต้องปรับให้เหมาะกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของที่นี่ ซอฟต์แวร์ของลองกองเหมาะกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดกลางหรือธุรกิจที่มีวงเงินประมาณ 10 ล้านบาทขึ้นไป จะเริ่มตั้งแต่ประมูลงาน ซื้อวัสดุ ไปจนถึงจบโครงการ สามารถตรวจสอบค่าใช้จ่ายต้นทุนที่เหมาะสมได้ตลอดเวลา ในประเทศไทย ลองกองมีลูกค้าเป็นกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่หลายราย และไม่มีคู่แข่งในสายงานนี้ แม้จะเป็นครั้งแรกของธุรกิจซอฟต์แวร์ไทยที่ออกไปเปิดตลาดต่างประเทศ แต่ก็ทำให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมส่งเสริมการส่งออก มองเห็นช่องทางก้าวเดินต่อไปของกลุ่มสินค้าประเภทนี้ ซึ่งเกิดจากมันสมองของคนไทยล้วน ๆ หากได้ผล TSEP ก็จะขอให้ซิป้าและกรมส่งเสริมการส่งออก ช่วยสนับสนุนให้ต่อเนื่อง ตลาดใหม่ที่มองไว้จุดต่อไปก็คือ ญี่ปุ่น ดูไบ จีน และฟิลิปปินส์ ซื้อของคนอื่นมามากแล้ว ขอขายเอาเงินต่างชาติเข้าประเทศบ้าง
ข้อมูลจาก http://www.dailynews.co.th/

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551

รายงาน

รายงานวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์