1.computer มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
คอมพิวเตอร์แบ่งได้ 4 ประเภทแบ่ง โดยแบ่งตามความเร็วของการประมวลผล และขนาดความจำของหน่วยบันทึกข้อมูล ได้แก่
1. ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputers )
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computers)
3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputers)
4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputers)
1. ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputers )
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computers)
3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputers)
4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputers)
1. ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกปี ค.ศ 1960 ในประเทศสหรัฐอเมริกา บางครั้งเรียกว่าคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer) มีหน่วยวัดความเร็วเป็นนาโนวินาที (nanosecond) คือเศษหนึ่งส่วนพันล้านวินาทีหรือการคำนวณหนึ่งพันล้านครั้งใน 1 วินาที สามารถทำงานได้หลายอย่างพร้อมกัน เหมาะสำหรับการรับและการแสดงผลจำนวนมาก ใช้ในงานวิเคราะห์ คำนวณด้านวิทยาศาสตร์ เช่น งานวิเคราะห์พยากรณ์อากาศวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศ
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่ำกว่าซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้หน่วยวัดความเร็วเรียกว่าเมกะฟลอป(Megaflop)หรือการคำนวณหนึ่งล้านครั้งใน1วินาที เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายอย่างพร้อมกันและรองรับผู้ใช้ได้หลายร้อยคน เหมาะสำหรับการรับและการแสดงผลจำนวนมากโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆเช่นงานธนาคาร งานหน่วยงานของรัฐในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนเป็นต้น ปัจจุบันเมนแฟรมคอมพิวเตอร์ไม่เป็นที่นิยมนำมาใช้งานมากนักเพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกว่าได้รับการพัฒนาความสามารถในการทำงานได้ในระดับเดียวกัน และมีราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตามเครื่องเมนเฟรมยังคงมีความจำเป็นในงานที่ต้องใช้ข้อมูลมากพร้อมๆกัน เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมสามารถพ่วงต่อ และควบคุมอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) จำนวนมากและมีความรวดเร็วในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์
3. มินิคอมพิวเตอร์(Minicomputer)เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานได้ช้ากว่าและควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ แต่ราคาถูกกว่าเมนเฟรม และไม่ต้องการผู้ที่ทำงานควบคุมเป้นจำนวนมากการใช้งาน มินิคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานทั้งในระดับธุรกิจ วิศวกรรม และอุตสาหกรรม
4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ใช้งานที่พบได้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สามารถนำมาใช้งานคนเดียว หรือทำงานร่วมในระบบเครือข่าย แบ่งได้หลายลักษณะตามขนาด เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ (Personal Computer) หรือแบบพกพา (Portable Computer) หรือแบ่งตามผู้ผลิต ได้แก่ เครื่องกลุ่ม IBM, IBM Compatible และแมคอินทอช (Macintosh) เป็นต้น
ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นตัวที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในโลกคอมพิวเตอร์ คือ ทำให้เกิดความสนใจ ในเรื่องคอมพิวเตอร์แพร่หลายไปสู่คนทุกอาชีพและทุกวัยปัจจุบันยังมีการสร้างไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลงเพื่อพกพาติดตัวได้สะดวก เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุค (Notebook computor) คอมพิวเตอร์ปาล์มทอป (Palmtop Computor) คอมพิวเตอร์พีดีเอ (Personal Digital Assistant
ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นตัวที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในโลกคอมพิวเตอร์ คือ ทำให้เกิดความสนใจ ในเรื่องคอมพิวเตอร์แพร่หลายไปสู่คนทุกอาชีพและทุกวัยปัจจุบันยังมีการสร้างไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลงเพื่อพกพาติดตัวได้สะดวก เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุค (Notebook computor) คอมพิวเตอร์ปาล์มทอป (Palmtop Computor) คอมพิวเตอร์พีดีเอ (Personal Digital Assistant
2.Computer แบบฝัง คืออะไร ใช้ประโยชน์ไรได้บ้าง
คอมพิวเตอร์แบบฝัง(Embeded computers)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกฝังไปในอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้มองไม่เห็นจากรูปลักษณ์ภายนอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์เช่น นิยมใช้การทำงานเฉพาะด้าน โดยทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมหน้าที่การทำงานบางอย่าง เช่นเตาอบไฟฟ้า นาฬิกาข้อมือ อุปกรณ์เล่นเกม
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกฝังไปในอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้มองไม่เห็นจากรูปลักษณ์ภายนอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์เช่น นิยมใช้การทำงานเฉพาะด้าน โดยทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมหน้าที่การทำงานบางอย่าง เช่นเตาอบไฟฟ้า นาฬิกาข้อมือ อุปกรณ์เล่นเกม
3.ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร
ข้อมูล (data) หรือ ข้อมูลดิบ หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้. ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ คะแนนของนักเรียน รายงาน บันทึก ฯลฯ
ระบบ การจัดการความรู้ ทั้งหมดได้แก่
ข้อมูล --> สารสนเทศ --> ความรู้ --> ความชำนาญ
ข้อมูลเหล่าที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว เราจะเรียกว่า สารสนเทศ (information)
ข้อมูล -> (กระบวนการประมวลผล) -> สารสนเทศ
ข้อแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูลแตกต่างจากสารสนเทศคือ ข้อมูลเป็น ส่วนของข้อเท็จจริง โดยได้จากการเก็บมาจากเหตุการณ์ต่างๆ สารสนเทศคือข้อมูลที่นำมาผ่านกระบวนการเพื่อสามารถนำไปใช้ ในการตัดสินใจต่อไปได้ทันทีหรือการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อการนำไปใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวอย่างข้อแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล: นิสิตในมหาวิทยาลัยนเรศวรมีจำนวน 36,000 คน อาจารย์มีจำนวน 350 คน
สารสนเทศ: อัตรานิสิตต่ออาจารย์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร = 36,000/350 = 102.86
จากตัวอย่าง ถ้ามีคำถาม
ถามขึ้นมาว่าให้หาจำนวน ของนักเรียนที่ปรึกษา ต่ออาจารย์หนึ่งคน ในมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยสามารถนำค่า 102.86 ไปใช้ได้ทันที โดยตอบว่า ประมาณ 100 คน
ถามว่า เปรียบเทียบมหาวิทยาลัยสองที่ ว่าที่ไหนอาจารย์สามารถดูแลนักเรียนได้ทั่วถึงมากกว่ากัน โดยเราหาค่า อัตราส่วนของนักเรียนต่ออาจารย์ ของสองมหาวิทยาลัยมาเปรียบเทียบ จะทราบว่ามหาวิทยาลัยที่มีค่าน้อยกว่า บอกเป็นนัยมหาวิทยาลัยนั้น อาจารย์ดูแลนักเรียนได้ทั่วถึงกว่า
ระบบ การจัดการความรู้ ทั้งหมดได้แก่
ข้อมูล --> สารสนเทศ --> ความรู้ --> ความชำนาญ
ข้อมูลเหล่าที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว เราจะเรียกว่า สารสนเทศ (information)
ข้อมูล -> (กระบวนการประมวลผล) -> สารสนเทศ
ข้อแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูลแตกต่างจากสารสนเทศคือ ข้อมูลเป็น ส่วนของข้อเท็จจริง โดยได้จากการเก็บมาจากเหตุการณ์ต่างๆ สารสนเทศคือข้อมูลที่นำมาผ่านกระบวนการเพื่อสามารถนำไปใช้ ในการตัดสินใจต่อไปได้ทันทีหรือการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อการนำไปใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวอย่างข้อแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล: นิสิตในมหาวิทยาลัยนเรศวรมีจำนวน 36,000 คน อาจารย์มีจำนวน 350 คน
สารสนเทศ: อัตรานิสิตต่ออาจารย์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร = 36,000/350 = 102.86
จากตัวอย่าง ถ้ามีคำถาม
ถามขึ้นมาว่าให้หาจำนวน ของนักเรียนที่ปรึกษา ต่ออาจารย์หนึ่งคน ในมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยสามารถนำค่า 102.86 ไปใช้ได้ทันที โดยตอบว่า ประมาณ 100 คน
ถามว่า เปรียบเทียบมหาวิทยาลัยสองที่ ว่าที่ไหนอาจารย์สามารถดูแลนักเรียนได้ทั่วถึงมากกว่ากัน โดยเราหาค่า อัตราส่วนของนักเรียนต่ออาจารย์ ของสองมหาวิทยาลัยมาเปรียบเทียบ จะทราบว่ามหาวิทยาลัยที่มีค่าน้อยกว่า บอกเป็นนัยมหาวิทยาลัยนั้น อาจารย์ดูแลนักเรียนได้ทั่วถึงกว่า
4.VLSi คืออะไรมีความสำคัญต่อ Computer อย่างไร
วงจรรวมขนาดใหญ่ (Very Large Scale Intrgrated : VLSI) เป็นลักษณะของการต่อร่วมเข้ากันด้วยไอซี (Integrate Circuit : IC) หลายๆ ตัว เริ่มตัวแต่มนุษย์พัฒนาธาตุซิลิกอนขึ้นมาเพื่อใช้งาน ตั้งแต่หลายร้อยปีก่อน ธาตุซิลิกอนมีคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมัน จะเกิดเป็นพลังงานต่างๆ แล้วแต่ลักษณะการออกแบบ กว่าจะมาเป็น VLSI เริ่มขึ้นจากการพัฒนาธาตุซิลิกอน จนเป็น ทรานซิสเตอร์ ซึ่งจัดเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำพวก ACTIVE DEVICEการทำงานของทรานซิสเตอร์ คือ จะแปลงพลังงานไฟฟ้าที่ผ่านตัวมันเป็นพลังงานอีกอย่างหนึ่ง หรือเปลี่ยนรูปแบบของพลังงาน จากทรานซิสเตอร์เมื่อนำมาประกอบกันเป็น วงจรใหญ่ขึ้นก็จะกลายเป็น IC ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในสาร ซิลิกอนอีกชั้นหนึ่ง จาก IC เมื่อนำมา ประกอบกันหลาย ๆอันก็จะกลายเป็นชิป (chip) หรือเรียกว่า เทคโนโลยี VLSI นั่นเอง
5.นิสิตใช้ Computer ในชีวิตประจำวันอะไรบ้าง
ใช้ในการหาข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และพิมพ์เอกสาร
ใช้เพื่อบันเทิง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ ฯลฯ
วันที่สืบค้น 26/06/51